ปัญหากลิ่นในรองเท้า เป็นเรื่องที่ทำให้ใครหลายๆคนต้องเป็นทุกข์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้เราต้องทนเหม็นแล้ว ยังทำให้รู้สึกเสียความมั่นใจอีกด้วย ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า กลิ่นในรองเท้าเกิดจากอะไร
กลิ่นในรองเท้าเกิดจากอะไร
กลิ่นในรองเท้า ไม่ได้เกิดจากเหงื่อโดยตรง แต่เกิดจากการที่เหงื่อไปทำให้รองเท้ามีความชื้นเพิ่มขึ้น และเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดังนั้นเรามาเรียนรู้ทีละปัจจัยการเกิดกลิ่นเพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
ปกติเหงื่อของคนเราจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบที่มีกลิ่น กับแบบที่ไม่มีกลิ่น เหงื่อที่มีกลิ่นจะถูกสร้างจาก ต่อม apocrine sweat gland จะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะ เหนีนวใส มีไขมันมาก พบต่อมเหงื่อนี้ได้มากบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ส่วนเหงื่อที่ไม่มีกลิ่นจะถูกสร้างจากต่อม eccrine sweat gland จะผลิตเหงื่อที่ใสเหมือนน้ำ พบต่อมนี้ได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่เท้า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต่อมเหงื่อที่มากกว่าบริเวณอื่นในร่างกาย ซึ่งเหงื่อที่เท้าไม่ได้มีกลิ่น แต่กลิ่นเกิดจากการที่เชื้อโรคแบคทีเรีย ย่อยเหงื่อเราแล้วขับสารบางอย่าง ยิ่งถ้ารองเท้าคู่นั้นสกปรก และมีเหงื่อออกมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการสร้างอาหารและสิ่งแวดล้อมที่ดีเหมาะแก่การเจริญและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียแบบมหาศาลและก่อให้เกิด ซึ่งกลิ่นดังกล่าวคือ Methanethiol gas และพวก Amino acid เช่น isoveleric acid และpropionic acid ซึ่งเป็นผลมาจากการย่อยสลายพลังงานของแบคทีเรียนั่นเอง
โดยแบคทีเรียที่พบได้บริเวณผิวหนังของเรา ได้แก่ Brevibacterium, Micrococcaceae, Corynebacterium,Staphylococcus epidermidis , Propionbacteria ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญของแบคทีเรียนั้นไม่ใช่แค่เหงื่อ ยังมีอื่นๆอีกหลายปัจจัย
1.ค่า pH หรือค่ากรดด่างนั่นเอง ค่าpHที่แบคทีเรียเจริญได้ดี คือ 4-4.5 แต่จะมีราบางชนิดเจริญได้แม้ในสภาพที่กรดหรือด่าง(pH1.8-11.1)
2.ออกซิเจน ในน้ำ ใช้ในกระบวนการหายใจ
3.น้ำตาลและแร่ธาตุ
4.ความชื้นสูง
5.อุณหภูมิที่น้อยกว่า40 องศาเซลเซียส
1.การเปลี่ยนแปลงค่า pH ให้เป็นกรด โดยการเติมสารบางอย่าง เช่น Lactic acid และ Citric acid ที่พบใน มะนาว ส้ม สับปะรด มะขาม ส้มโอ และ ascorbic acid ที่พบในผลไม้ตระกูลส้ม ฝรั่ง เชอรี่ มะขามป้อม ผักบุ้งจีน เป็นต้น
2.เติมสารยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ Benzoic และ sorbic acid พบในต้น cranberries และน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เช่น cinnamic aldehyde, thymol, eugenol เป็นต้น
3.ลดความชื้นและออกซิเจน โดยการ ไม่ทำให้รองเท้าเปียก ถ้าเปียกควรรีบทำให้แห้งให้ไวที่สุด และสวมใส่ถุงเท้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีลดเหงื่อไปสู่รองเท้า เช่น ถุงเท้าคอตตอน
4.เติมสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา ที่ไปลดน้ำและความชื้น เช่น แป้ง หรือ เกลือบางชนิด
5.การอบแห้ง ทำให้อุณหภูมเพิ่มขึ้น และความชื้นน้อยลง สร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
คลิกดูสินค้า
นอกจากจะต้องลดหรือกำจัดแบคทีเรียในรองเท้าแล้ว เราควรลดเหงื่อและรักษาความสะอาดของเท้าเพื่อป้องกันไม่ไห้รองเท้ากลับมาเหม็นอีก
1.การใช้ชา เพราะในชา มีกรด Tannic ช่วยให้รูขุมขนเล็กลง เหงื่อออกน้อย
วิธีการ: นำถุงชา 2 ถุงเล็กต้มกับน้ำครึ่งลิตร 15 นาที เติมน้ำเย็นอีก2 ลิตร แช่เท้า 30 นาที ทำ 1ครั้งต่อสัปดาห์
2.การใช้เกลือ โดยเกลือจะไปดึงความชื้นออกจากผิว ทำให้ผิวเท้าแห้งลดการเจริญของจุลินทรีย์
วิธีการ : ละลายเกลือครึ่งถ้วยในน้ำอุ่น 1 ลิตร แช่เท้านาน 20 นาที แล้วเช็ดโดยไม่ต้องล้างเท้า ทำต่อเนื่องได้เลย แต่ถ้าเท้าแห้งแตกควรเว้นระยะ
3.น้ำส้มสายชู น้ำส้มสายชูจะช่วยให้เท้าแห้ง ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรีย
วิธีการ : ผสมน้ำส้มสายชู 250 มิลลิลิตร ในน้ำอุ่น 1 ลิตร แช่เท้านาน 15 นาที แล้วล้างด้วยสบู่ ทำ 1ครั้งต่อสัปดาห์
4.Baking Soda ช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
วิธีการ : ผสม Baking Soda 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำ 1 ลิตร แช่เท้านาน 20 นาที ทุกคืนเป็นเวลา 1 สัปดาห์